Skip to main content

การเรียนรู้กีฬาฟันดาบนานาชาติในยุคดิจิทัล


ET
Course for : นักศึกษา บุคลากร

 

รายวิชา

    ภาษาไทย

การเรียนรู้กีฬาฟันดาบนานาชาติในยุคดิจิทัล

    ภาษาอังกฤษ

International Fencing Sport Learning in Digital Era

    ผู้รับผิดชอบรายวิชา

ผศ.ดร.ดัชกรณ์ ตันเจริญ

    สังกัดคณะวิชา

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

    E-mail

datchakorntan@pim.ac.th

คำอธิบายรายวิชา

การเรียนรู้กีฬาฟันดาบ เหมาะกับผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้วยตัวเอง โดยเนื้อหาจะมีการอธิบายและตัวอย่างการฝึกฝนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ตามมาตรฐานของสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการยอมรับ มีเนื้อหาตั้งแต่ประวัติของกีฬาฟันดาบ การพัฒนากีฬาฟันดาบในประเทศไทย ประเภทของกีฬาฟันดาบประกอบด้วย ดาบฟอยล์ (Foil) ดาบเอเป้ (Epee) และดาบเซเบอร์ (Sabre) วิธีการฝึกฝนของกีฬาฟันดาบแต่ละประเภท มีตัวอย่างการฝึกฝน เช่น การยืน การเคลื่อนที่เดินหน้าถอยหลัง การจับดาบ การออกดาบ การป้องกันตัว พร้อมทั้งการอธิบายถึงกติกา มารยาทที่ผู้เรียนควรจะรู้ รวมถึงการเรียนรู้ดาบไทยและดาบญีปุ่นเพิ่มเติม

 

ความสำคัญของกีฬาฟันดาบ

กีฬาฟันดาบเป็นกีฬาที่มีมาตั้งแต่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคครั้งแรก เป็นกีฬาที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่ยังไม่แพร่หลายเข้าถึงนักเรียนนักศึกษาในระดับชั้นต่างๆ ปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬาฟันดาบตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และระดับชาติ การเริ่มฝึกกีฬาฟันดาบ ผู้ที่สนใจควรได้รับการแนะนำพื้นฐานที่ถูกต้อง เพื่อการพัฒนาที่รวดเร็ว ป้องกันการบาดเจ็บ และควรได้รับคำแนะนำในเรื่องกติกา มารยาทที่ดี ผู้เรียนจะสามารถฝึกฝนและพัฒนาเพื่อการแข่งขัน การเรียนรู้ออนไลน์ระบบเปิด (Massive Open Online Course: MOOC) จึงเป็นการเปิดการฝึกประสบการณ์ที่การเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะกับการนำมาใช้ในการฝึกกีฬาฟันดาบ ซึ่งไม่จำกัดอายุของผู้เรียน สามารถเข้ามาดูหัวข้อต่าง ๆ โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือตามที่ต้องการเพื่อให้เกิดความชำนาญ ทำให้เกิดความมั่นใจในการเรียนรู้ต่อยอดต่อไปได้

วัตถุประสงค์ของรายวิชา

o   ผู้เรียนสามารถอธิบายประวัติ ความเป็นมา และประเภทของกีฬาฟันดาบได้

o   ผู้เรียนเข้าใจกฎกติกาในการเล่นกีฬาฟันดาบแต่ละประเภท

o   ผู้เรียนเข้าใจทักษะพื้นฐานในการแข่งขันกีฬาฟันดาบได้

    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

3 ชั่วโมงการเรียนรู้

    ระดับเนื้อหาของรายวิชา

นักเรียน/นักศึกษา/บุคคลทั่วไป/ความรู้ระดับเบื้องต้น

    เกณฑ์การให้คะแนน

แบบทดสอบท้ายบท Quiz 3 ครั้ง ครั้งละ 20 คะแนน รวม 60 คะแนน

แบบทดสอบหลังการเรียน รวม 40 คะแนน

ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์

 

  1. Course Number

    PM2ET6302
  2. Classes Start

  3. Classes End

  4. Estimated Effort

    1
Enroll